ประวัติภาควิชา


ภาควิชาคอมพิวเตอร์
ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534 ในปัจจุบันมีคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่า 10 ท่านซึ่งล้วนเป็นผู้มีเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เป็นที่ยอมรับ ในระดับประเทศ ภาควิชาเสนอหลักสูตรตั้งแต่ระดับบัณฑิตศึกษาสาขาเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ ปริญญามหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แขนงคอมพิวเตอร์ ศึกษา และแขนงเทคโนโลยีมัลติมีเดีย จนถึง ปริญญาดุษฎีมหาบัณฑิตสาขา คอมพิวเตอร์ศึกษาเน้นสาขาวิจัยด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนแบบปัญญาประดิษฐ์ การสร้างสื่อประสม คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ การประมวลผลภาพ ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาระบบเครือข่าย วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ระบบศึกษาบันเทิง เป็นต้น นอกจากนั้นภาควิชายังมีความ พร้อมสูงทั้งด้านฐานความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย สามารถสร้างบัณฑิตที่มี ความพร้อม และ ความสามารถสูง เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา รวมถึงมีความร่วมมือ ทั้งในระดับประเทศ และ นานาชาติ ตลอดจนภาคธุรกิจต่างๆ อีกทั้งยังมีแหล่ง ทุนการศึกษาด้วย ปัจจุบันมีนิสิตเก่ามากกว่า 2,000 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นกำลังสำคัญ ให้กับองค์กรต่างๆ ในวงการคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศของประเทศไทย
ประวัติภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
ในระหว่างปี พศ 2527 - 2530 คณาจารย์ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้ากลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วยอาจารย์ประเสริฐ ประวัติรุ่งเรือง (ปัจจุบันเป็นผู้บริหารโรงเรียนสยามธุรกิจ SBAC และบริษัทในเครือสยามคอมพิวเตอร์) ผศ.ดร.สุรพันธ์ ตันศรีวงศ์ อาจารย์มงคล หวังสถิตย์วงษ์ อาจารย์พัฒพงษ์ อมรวงศ์ อาจารย์พิพัฒน์ พัดคุ้ม(ปัจจุบันลาออกจากราชการ ไปประกอบกิจการส่วนตัวที่เมืองพัทยา ) และอาจารย์มนต์ชัย เทียนทองได้มีประสบการณ์ร่วมกันในการจัดตั้งโรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ หลักสูตรระยะสั้นให้กับบุคคลทั่วไปหลังจากที่ได้ศึกษาความต้องการและแนวโน้ม ของการใช้สารสนเทศ รวมทั้งความตื่นตัวทางด้านคอมพิวเตอร์ในช่วงนั้น จึงได้ปรึกษากับศาสตราจารย์ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ ซึ่งเป็นคณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสมัยนั้นเพื่อขอเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรีสาขาคอมพิวเตอร์ ในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ซึ่งต่อมาคณบดีก็ให้ความสนับสนุนอย่างดี โดยได้จัดสรรงบ ดำเนินการจากเงินรายได้ของคณะ และบางส่วนได้มาจากเงินรายได้สะสมที่เกิดจากกิจกรรมของศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรม (ศพอ.) โดยมีอาจารย์พัทยา ยิ่งวัฒนา เป็นหัวหน้าศูนย์ในสมัยนั้นเพื่อจัดตั้งห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ห้องแรกของคณะ เมื่อเดือนเมษายน 2534
ห้อง 205 จึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อใช้เป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ห้องแรกของหลักสูตร TCT โดยมีไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ TWC รุ่น IBMPC ใช้ CPU Intel 80386SX-16MHz จำนวน 24 เครื่อง มีความจุ RAM เพียง 256 kB ติดตั้งเครื่องอ่านฟล๊อปปี้ดิสค์ขนาด 5.25 นิ้ว ใช้จอภาพ
ความต้องการของนักศึกษาที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร TCT มี แนวโน้วที่สูงขึ้นประกอบ กับทบวงมหาวิทยาลัยได้ พิจารณาให้สาขาคอมพิวเตอร์เป็นสาขาขาดแคลน คณบดีจึงสนับสนุนให้เปิดรับนักศึกษารอบบ่าย หลักสูตร 3 ปีเป็นปีแรก โดยรับนักศึกษารุ่นแรก 20 คน ส่วนหลัก
บัณฑิตครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์รุ่นแรก สำเร็จการศึกษาครบทุกคนภายในกำหนดเวลาได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2536 นับว่าเป็นการเบิกทางให้ชื่อ TCT ได้จุติขึ้น ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากตลาดแรงงาน บัณฑิตทุกคนได้งานทำ
ในปีนี้ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยขึ้นรวมทั้งการเสนอโครงการ ขอแยกออกจากภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า จัดตั้งเป็นภาควิชาครุศาสตร์คอมพิวเตอร์ (ชื่อครั้งแรก)เพื่อความสะดวกในการบริหารและการจัดการด้านการเรียนการสอน และงบประมาณ และมีคุณเกษรา โศรกศรี
โครงการจัดตั้งภาควิชา ได้ถูกยกร่างขึ้นและเสนอผ่านกรรมการคณะกรรมการสถาบันตามลำดับ และสิ้นสุดที่ทบวมหาวิทยาลัย ซึ่งคณบดีอาจารย์เสมอ เริงอนันต์ ละผมต้องเดินทางไปชี้แจง กับคณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัยหลายครั้ง (ดร.อมเรศ ศิลาอ่อน เป็นประธานคณะกรรมการทบวง) ซึ่งทุก
นโยบายการระดมงบประมาณให้กับภาควิชาใดภาควิชาหนึ่งของผู้บริหาร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ทำให้ปี 2539 เป็นปีแห่งการพัฒนาของภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาประกอบกับภาควิชาได้ร่วมโครงการเร่งรัดผลิตบัณฑิตสาขาวิชา ที่ขาดแคลน ทำให้ได้งบประมาณปี 2539 เกือบ 8 ล้านบาท
หลังจากจัดตั้งเป็นภาควิชาเสร็จสิ้นภาควิชาก็ได้รับการจัดสรรอัตราบุคลากรทั้งจากงบประมาณปกติและจากโครงการเร่งรัดผลิตบัณฑิตสาขาที่ขาดแคลน รวมทั้งได้รับทุนพัฒนาอาจารย์เพื่อให้ไปศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาทั้งในและต่างประเทศนับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่มีอาจารย์หลายคนได้เดินทางไปศึกษาต่อ ยังต่างประเทศ เพราะหลังจากที่ประเทศไทยเกิดสภาพวิกฤตทางเศรษฐกิจโครงการนี้ก็ถูกตัดไปคณาจารย์ของภาควิชาที่ได้ไปศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาต่างประเทศในช่วงนี้ ได้แก่
-อาจารย์สุพจน์ นิตย์สุวัฒน์เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกทาง ด้านคอมพิวเตอร์ ณ University of New South Wales ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2539
-อาจารย์จรัญ แสนราช เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ทางด้านคอมพิวเตอร์ศึกษา ณ INPL ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 23
-อาจารย์สรเดช ครุฑจ้อน เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท-เอก ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ณ Vanderbilt University ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม 2540
ก่อนหน้านี้ก็มีอาจารย์ที่ได้รับทุนของภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาไปศึกษา ต่อระดับปริญญาตรี-โท-เอก สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้แก่ อาจารย์นวพร วิสิฐพงศ์พันธุ์ ซึ่งปัจจุบันกำลังศึกษาต่อ ณ Carnegie-Mellon University ประเทศสหรัฐอเมริกาส่วนอาจารย์คนสุดท้ายที่เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท-เอก ต่างประเทศก็คือ อาจารย์สรสิทธิ์ คล้ายคลึง ศึกษาต่อที่ Esslingen FH. ประเทศเยอรมัน เมื่อปีการศึกษา 2542
นอกจากนี้ก็มีคณาจารย์ที่ศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาในประเทศอีกหลายท่านได้แก่
-อาจารย์พารา ลิมมะณีประเสริฐ ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง เมื่อปีการศึกษา 2541
-อาจารย์จีรพันธุ์ ศรีสมพันธ์ และอาจารย์สมคิด แซ่หลี เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปีการศึกษา 2541
-อาจารย์วรรณชัย มีสวัสดิ์ และอาจารย์เทวา คำปาเชื้อเข้าศึกษาต่อระดับ ปริญญาโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปีการศึกษา 2541
-อาจารย์สุธิดา ชัยชมชื่น อาจารย์กฤช สินธนะกุล และอาจารย์ธีราทร ซนีเย็ง เข้าศึกษาต่อสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) เมื่อปีการศึกษา 2541 ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือระหว่าง Monash University ประเทศออสเตรเลีย กับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
โดยการสนับสนุนด้านงบประมาณจากคณะ เพื่อให้ภาควิชาออกแบบและติดตั้ง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์รวมของคณะ โดยใช้ชื่อว่า TechEd Net ติดตั้งอยู่ที่ห้อง 207 ทำให้ภาควิชา สามารถใช้ประโยชน์ของเครือข่าย Intranet/Internet ในงานสารสนเทศได้อย่างสมบูรณ์ เช่น การจัดทำ Homepage รายวิชา ระบบรายงานผลการเรียนผ่านเครือข่าย การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย เป็นต้น ปัจจุบันกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นระบบ Full Computerized ในอนาคตอันใกล้ ในปีนี้เอง ภาควิชาได้เข้าร่วมโครงการรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่นของคณะ โดยรับนักศีกษาที่มีผลการเรียนดีเด่นที่จบการศึกษา ระดับ ปวส. สาขาคอมพิวเตอร์ สาขาไฟฟ้า สาขาอิเล็กทรอนิกส์ และสาขาที่เกี่ยวข้องจากวิทยาลัยเทคนิคทั่วประเทศ ให้เข้าศึกษาต่อหลักสูตร TCT โดยไม่ต้องสอบคัดเลือกนับว่าเป็นนโยบายระดับทองของคณะที่ได้ขยายโอกาสทางการศึกษาไปยังนักศึกษากลุ่มนี้ ซึ่งบางคนอาจจะไม่มีโอกาสได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ทั้งที่มีผลการเรียนดี เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจหรือปัญหาอื่นๆ โครงการนี้ทำให้ภาควิชาได้บัญฑิต TCT ที่มีคุณภาพเยี่ยมหลายคน ผลงานของนักศึกษา TCT ทั้งในรูปของฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ เป็นที่ยอมรับมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากรางวัลที่ได้รับจากการประกวดต่างๆ เช่น การประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีของสถาบัน การประกวด ซอร์ฟแวร์ของ NECTEC เป็นต้น
ส่วนหลักสูตร TCT ได้ถูกปรับปรุงใหญ่อีกครั้งหนึ่งในปีนี้ เพื่อให้เหมาะ สมและยืดหยุ่นตามศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งกับภาควิชาได้แต่งตั้งกรรมการร่างหลักสูตรระดับปริญญาโท MTCT ขึ้น โดยผ่านความเห็นชอบจาก คณะกรรมการคณะและบัณฑิตวิทยาลัยตามลำดับขั้น
ในปีการศึกษา 2542 ภาควิชาได้เปิดรับนักศึกษาปริญญาโท MTCT รุ่นแรก ใน 2 สาขาวิชาได้แก่ สาขาเทคโนโลยิมัลติมีเดีย และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา โดยมีนักศึกษา MTCT รุ่นแรกจำนวน 21 คน ส่วนหนึ่งเป็นศิษย์เก่า TCT ที่ทำงานอยุ่ในองค์กรต่างๆ และอีกส่วนหนึ่งเป็นนักศึกษาจากภายนอกทั่วๆไป ส่วนหลักสูตร TCT ระดับปริญญาตรียังคงรับนักศึกษาในจำนวนคงเดิม ทำให้ภาควิชามีนักศึกษา ทั้งสิ้นประมาณ 350 คน
ต้นปี 2543 ภาควิชาได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 511 สำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษาขึ้น เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลจากเครือข่าย Internet/Internet ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่ดีที่สุดในคณะจัดสร้างให้เป็นห้องเรียนและห้องสืบค้นข้อมูลจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีระบบโสดทัศนูปกรณ์ ครบสมบูรณ์ โดยใช้งบประมาณเกือบ 2 ล้านบาท ส่วนบัณฑิต TCT ที่จบการศึกษาในปีนี้ได้สร้างปรากฏการณ์ขึ้นใหม่โดยจบตามกำหนดเวลาทั้งชั้นเรียน และจะเข้ารับพระราชทานปริญญาในปีนี้ประมาณ 130 คน นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีของภาควิชานอกจากนี้นักศึกษาของภาควิชายัง ได้รับรางวัล ชนะเลิศจากการประกวดซอฟท์แวร์ในระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นโดย NECTEC ได้รับรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2534 จนถึงปีการศึกษา 2543 เป็นเวลาครบ 10 ปี ที่มีการจัดการศึกษา หลักสูครครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ในสังกัดของภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ซึ่งจัดตั้งภาควิชาอย่างเป็นทางการเมื่อประมาณ 5 ปีมานี้ถ้าเปรียบเทียบกับ ภาควิชาอื่นๆ ในสถาบัน ก็คงเป็นหน่วยงานใหม่ที่กำลังอยู่ในระยะของการพัฒนา ยังมีภารกิจที่ต้องดำเนินอีกหลายประการ ภายใต้การสนับสนุนจากผู้บริหารของ สถาบันทุกระดับ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาของภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ทุกคนมีความตระหนักดีว่า แม้จะเพียงแค่เริ่มต้นเท่านั้น แต่ก็มั่นใจว่าพวกเรากำลังเดิน ถูกทางและพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าต่อไป